• RSS

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

North Thailand Trip 2009 :part3

Sang Kaw Pho Thi Yan Temple
Chiang rai

ข้อมูล:  วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย 
ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ” แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว  เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549  ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง 

อ่านบทความทั้งหมดได้ที่  เวบไซต์ของวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ
LINK   http://www.watsangkaewphothiyan.com/




ต้นกฐินแบงค์ 20 เยอะมากสูงท่วมหลังคาโบสถ์
เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก จากการคาดเดาด้วยสายตา
คงเป็นจำนวนเงินที่เยอะมาก ลองนั่งนับดูจากภาพ ตาลายเลยล่ะคะ


ประวัติความเป็นมาของวัด ( คัดลอกจาก http://www.watsangkaewphothiyan.com/ )

1.สถานที่ตั้ง

วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง

2.เริ่มก่อสร้าง
วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยม จึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างวัด กับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง โดยใช้เวลานานหลายวันก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ในการก่อสร้างวัด แต่แล้วด้วยบุญญาบารมี ของท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวบ้านที่จะสร้างวัด คืนหนึ่งขณะที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จำวัดอยู่ได้นิมิตรว่ามีที่ดินเป็นเนินไม่สูงมากนัก มีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยไม้ไผ่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต พึงพอใจในสถานที่แห่ง นี้เป็นยิ่งนัก จึงได้เล่านิมิตที่ท่านพบมาให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านฟัง คณะพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านได้พาท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน จนมาถึงท้ายของหมู่บ้าน พบสวนของชาวบ้าน ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้สำรวจพื้นที่ โดยรอบสวนพบว่ามีลักษณะเป็นสวนและมีต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับสถานที่ที่ท่านได้นิมิตรพบในคืนที่ผ่านมา ท่านครูบาเดินออกสำรวจพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว แล้วบอกกับคณะที่ติดตามท่านไป ในการสำรวจครั้งนั้นว่า ท่านพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นยิ่งนัก เหมาะสำหรับการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นศาสนสถานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และสถานที่แห่งนี้เป็นของใคร พ่อหลวงยา ศรีทาจึงได้บอกว่าเป็นสวนของผู้ที่มีฐานะดี คงจะไม่ยอมขายให้และถ้าหากขายก็คงจะต้องราคาแพง ความเป็นไปได้ที่จะได้ที่ดินเพื่อมาสร้างวัดคงจะไม่มีท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้เดินไปจนถึงยอดเนินของสถานที่แห่งนั้น และได้จุดธูปเทียน พร้อมทั้งกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมังคละคู่ยารมีท่านในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปแล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา” เมื่อท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตตั้งจิตอธิษฐานเสร็จแล้ว พ่อหลวงยา ศรีทา ได้เชิญเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีมาพบกับท่านครูบาเพื่อพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการสร้างวัดบนของที่ดินผืนนี้ เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินประมาณ 19 ไร่เศษให้กับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตเพื่อสร้างวัดอย่างง่ายดาย สร้างความประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะผู้ติดตามท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นอย่างมากหลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ร่วมกับคณะศรัทธาปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ทราบข่าวการสร้างวัด ได้แสดงความจำนงค์ในการร่วมสมทบทุน สร้างวัดเป็นจำนวนมาก

3.การออกแบบก่อสร้างและการวางแผนในการก่อสร้างวัด
จากการที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และเป็นผู้ที่ศึกษามามากทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ที่ช่างสังเกตและจดจำ รวมถึงประสบการณ์ในการไปธุดงค์พบเห็นวัดต่าง ๆ ที่มีศิลปะในการสร้างที่แตกต่างกันไป ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้วางแผนผังบริเวณวัดซึ่งเป็นไปตามหลักของทางธรรมและศาสน์ของ สถาปัตยกรรมล้านนา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนลักษณะเป็นขั้นบันได 3 ขั้น โดยแต่ละขั้นมีความหมาย ดังนี้
ชั้นที่ 1 “ชั้นพุทธาวาส”
ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน ที่จอดรถและสถานที่สาธารณะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด


ชั้นที่ 2 “ชั้นพุทธาวาส”
ใช้เป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธีต่างๆ เป็นชั้นสำหรับการใช้ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส


ชั้นที่ 3 “ชั้นปรินิพพาน”
เป็นชั้นสูงสุดของวัดแห่งนี้โดย เป็นชั้นสังฆกรรม ชั้นพระสงฆ์ทำพิธีกรรม เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุแห่งวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ


การปรับปรุงพื้นที่ได้มีผู้มีจิตศรัทธา และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมทุนกันทั้งทุนทรัพย์ กำลัง เครื่องมือ เครื่องจักรเป็นจำนวนมาก และได้เร่งปรับพื้นที่ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนจนแล้วเสร็จภายคืนเดียว สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับชาวบ้านและคณะผู้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นอย่างมากที่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการก่อสร้างวัด เสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้ทำการสร้างอาคารพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น ระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบน้ำบาดาล ถังพักน้ำ โดยผู้มีจิตศรัทธา ที่หลั่งไหลมาแสดงความจำนงค์ในการเป็นเจ้าภาพ ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นจำนวนมาก

4.ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ”
แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยก่อนที่จะได้ชื่อ แสงแก้วโพธิญาณ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ร่วมกับคณะศรัทธาที่ร่วมกันสร้างวัด ในการตั้งชื่อเพื่อขออนุญาติสร้างวัด แต่เนื่องด้วยเหตุใดก็หามีผู้ใดรู้ไม่ ท่านครูบาและคณะศรัทธา ไม่สามารถสรุปชื่อของวัดได้ สร้างความหนักใจให้กับท่านครูบาและคณะศรัทธาเป็นยิ่งนักยิ่งใกล้วันวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างพระวิหารเข้ามาทุกที จนกระทั่งก่อนวันวางศิลาฤกษ์ 2 วัน ด้วยความทุ่มเทในการจัดเตรียมงานวางศิลาฤกษ์ และมีคณะญาติโยมที่พากันมากราบนมัสการ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต อย่างไม่ขาดสายทำให้ท่านครูบา รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเพลียท่านจึงได้จำวัด พอตกยามเช้าใกล้รุ่งท่านได้นิมิตฝันไปว่า คืนนี้ฝนตกหนักท่านได้เดินจากยอดดอยแห่งหนึ่งลงไปยังหมู่บ้านด้านล่างได้ได้พบกับลูกศิษย์เดินสวนมา และเอ่ยถามท่านว่า “ท่านจะไปไหน” ท่านก็ได้ตอบศิษย์ของท่านไปว่า “จะลงไปหมู่บ้านข้างล่าง” ลูกศิษย์ท่านก็บอกว่า “ไม่ต้องลงไปหรอกครับท่าน หมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมหมดแล้ว” ท่านก็บอกต่อไปว่า ไม่เป็นไรหรอก เราจะลงไป แล้วท่านก็บอกให้ลูกศิษย์ของท่าน เดินขึ้นไปก่อน จากนั้นท่านก็เดินลงจากดอยลูกนั้นมาเรื่อย ๆ จนพบกับแสงสว่างคล้าย ๆ กับแสงแก้ว ลอยไปลอยมาหลายดวง ท่านจึงมุ่งตรงไปยังกลุ่มของแสงเหล่านั้น พบว่าเป็นดวงไฟที่ชาวบ้านถือส่องทางเพื่อหนีน้ำท่วมขึ้นมาบนดอย ชาวบ้านเหล่านั้นได้ชวนท่านกลับขึ้นไปมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมแล้ว ท่านก็บอกให้ชาวบ้านเดินขึ้นไปก่อนเดี๋ยวท่านจะตามขึ้นไป จากนั้นสักพักท่านก็เดินกลับขึ้นดอยดิน กลับขึ้นดอย ท่านได้เดินเอาเท้าข้างหนึ่งเหยียบลงไปในหลุมโคลนบกับน้ำที่ไหลลงมาจากยอดดอยขังอยู่บริเวณนั้นพอดีทำให้พื้นดินอ่อนจนเท้าของท่านเหยียบลงไปจนหมด และท่านก็ได้มองลงไปในหลุมนั้น พบสิ่งประหลาดสิ่งหนึ่ง ยุบแลพองตัวอยู่ในหลุมนั้น ท่านจึงใช้ไม้เท้าของท่านเขี่ยดู แล้วหยิบสิ่งนั้นขึ้นมามีลักษณะคล้ายลูกแก้ว แล้วลูกแก้วลูกนั้นก็มีแสงสว่างเรืองรอง และนวลตายิ่งนัก ท่านก็มิได้สนใจมากนั้น จึงโยนสิ่งนั้นไปทางด้านหลังแล้วเดินขึ้นดอยต่อไป พอท่านหันหลังกลับมาพบว่าสิ่งที่ท่านโยนทิ้งไปเมื่อสักครู่กลับกลายเป็นดอกบัว ที่ผุดขึ้นมามากมายแล้วเรืองแสงไปทั่วบริเวณนั้น สร้างความประหลาดใจให้ท่านยิ่ง รุ่งเช้าท่านได้นำนิมิตที่ท่านพบในคืนที่ผ่านมาเล่าให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและกลุ่มคณะศรัทธาฟังชาวบ้านบอกว่าคงเป็นนิมิตที่เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบอกเป็นเหตุให้ ท่านจึงได้คิดชื่อได้ จากเหตุที่เป็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้วแล้วกลายเป็นดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ คือ หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วเปล่งแสงคล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” หลังจากนั้นก็ได้ทำการดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา เมื่อเสนอเรื่องขึ้นไป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกได้ทรงพระราชทานนามใหม่เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ”


แผนที่การเดินทาง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

(^_^) Hello ขอบคุณที่แวะมาค่ะ