• RSS

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วัดถ้ำเมืองนะ Wat Thum Muang Na,Chiang Rai

Wat Thum Muang Na
Chiang Rai

งานบุญกฐิน 2552 และ พิธีหล่อพระ

พิธีหล่อพระ ณ วัดถ้ำเมืองนะ ( หลวงตาม้า)


ช่วงกลางคืน เป็นพิธีหล่อพระ ลูกศิษย์ลูกหา ร่วมกันสวด บทจักรพรรดิกันพร้อมหน้า  กฐินปีนี้คนเยอะมาก ที่พัก ทั้งที่เป็นส่วนเดิม และที่ได้ก่อสร้างใหม่ ดูแคบไปทันที พวกเราตอนนี้เหลือกันแค่ 3 คน หอบที่นอนหมอนมุ้งไปนอนที่โรงฉัน จากคำแนะนำของครูบานัท โชคดีที่ยังพอคุ้นเคยกับวัดอยู่บ้าง จากการมาอยู่ปฎิบัติธรรม ปีก่อนของคุณชายอู๋ ช่วงเช้า เราต้องรีบตื่น ก่อนที่พระจะลงมาฉันกันที่นี่

     
พิธีหล่อพระ มักจะนำ แผ่นทอง หรือ เศษทอง ที่เรามีอยู่ ร่วมใส่ลงไปด้วย เพื่อให้ชิ้นส่วนทองของเรา เป็นส่วนหนึ่งขององค์พระ เชื่อกันว่า หาก ผู้คนได้มากราบไหว้ องค์พระ เราก็จะได้รับกระแสบุญนั้นไปด้วย
การหล่อพระพุทธรูปนั้น วัสดุที่ใช้ ไม่ได้กำหนดตายตัว หากจะพิจารณาในเรื่องการหล่อพระแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นวัสดุชนิดใด ก็ตาม การสร้างพระที่เกิดจากความศรัทธา และจิตที่บริสุทธิ์ แล้ว ก็สามารถสร้างองค์พระได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปั้นจากดิน การแกะ หิน หรือใช้ทองคำเปลว เงิน ทองแดง หรือโลหะต่างๆเป็นส่วนผสม


ทอดกฐิน ในช่วงเช้า

    

บริเวณ หน้าถ้ำใหญ่ หลายท่านที่ยังไม่เคยมา ก็อยากจะได้ขึ้นมาสัมผัสกับถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ส่วนเราเคยได้มาปฏิบัติ สวดมนต์ และนอนหลับ อยู่ที่นี่บ้าง จึงคิดว่า ไม่เข้าไปดีกว่า แต่ยังไม่เคยถ่ายรูป ในถ้ำเก็บไว้สักที คราวนี้ จึงได้รูป ในถ้ำใหญ่มา 1รูป ดีใจมาก




 ภาพถนนที่เป็นทางเข้าวัดถ้ำเมืองนะ
บรรยากาศโดยรอบ แถวนั้น สวยมาก มี่ทั้งทิวเขา และชาวบ้านทำเกษตรที่ราบเชิงเขา เราต้องเดินทางจาก ตัวอำเภอเชียงดาว เข้ามาอีก ประมาณ 25 กิโลเมตร ตลอดข้างทาง จะได้ชมธรรมชาติ กันอย่างจุใจ ยิ่งถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวด้วยแล้ว ชาร์ตแบตกันได้เต็มที่เลยล่ะคะ ปีก่อนที่มา ขนาด ยังไม่หนาวมาก ก็ 17-19 องศา ตามมาตรวัดอุณหถูมิ บรรยากาศของ รถแอคคอร์ด



click ที่ภาพ เพื่อดูภาพใหญ่




  

 
click ที่ภาพ เพื่อดูภาพใหญ่



การปั้นและการหล่อพระพุทธรูป
คุณ nasan คัดลอกจาก หนังสือกินรี ฉบับเดือนเมษายน 2003 หน้า 60 - 72


พระพุทธรูป พุทธศิลป์สูงค่า สัญลักษณ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราชาวพุทธทุกคนกราบไหว้บูชา เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

เกี่ยวกับความเป็นมาของการกำเนิดพระพุทธรูปนั้น ได้มีการค้นพบหลักฐานเป็นศิลปะวัตถุโบราณ ณ ประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจนถึงกับยกเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธรูปที่จะใช้เป็นที่เคารพบูชา มีเพียงปูชนียวัตถุที่สร้างไว้เพื่อสักการะแทน เช่น พระธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นต้น
ต่อมาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นโดยในครั้งแรกนั้นเป็นฝีมือของช่างชาวกรีก ซึ่งเป็นชนชาติที่เข้ามายึดครองอินเดีย จากการล่าอาณานิคมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ชาวกรีกเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานด้านปฏิมากรรมเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ เมื่อมาอยู่ในอินเดียเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา

การสร้างพระพุทธรูปมี 2 ขนาด คือ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปขนาดเล็ก พระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตัก 20 นิ้วขึ้นไป จัดว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ โดยมากสร้างไว้เป็นพระประธานในโบสถ์หรือวิหาร แต่กว่าจะออกมาเป็นพระพุทธรูปหนึ่งองค์ให้เราบูชาต้องใช้เวลานานเป็นเดือนเป็นปี เหตุนี้เองช่างทำพระหรือที่เรียกว่าช่างหล่อ จึงต้องเป็นคนที่มีใจรักในงานและมีความอดทนสูง

ด้วยความสลับซับซ้อนของขั้นตอนที่มีมากมายหลากหลาย งานหล่อพระพุทธรูปจึงเป็นปฏิมากรรมที่รวมเอาช่างฝีมือในหมวดช่างสิบหมู่ไว้แทบทุกแขนง ทั้งช่างปั้น ช่างหล่อหรือช่างเททอง ช่างขัดและช่างลงรักปิดทอง โดยมีลำดับการสร้างพระพุทธรูปเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นตอนการปั้นหุ่น
ช่างปั้นโบราณจะใช้ดินเหนียวคุณภาพดีมีสีเหลืองเรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม" นวดผสมกับทรายละเอียด โดยการเหยียบให้เข้ากัน จากนั้นจึงเริ่มปั้นส่วนต่างๆ ขึ้นมาเป็นองค์พระ ถ้าเป็นการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อาจต้องปั้นส่วนต่างๆ ของพระวรกายแยกกัน เช่น นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาท พระกรรณ รัศมี และเม็ดพระศก แล้วจึงนำมาประกอบกันในภายหลัง แล้วตกแต่งองค์พระทั้งด้านนอกและแกนในให้ได้สัดส่วนสวยงามเกลี้ยงเกลาตามศิลปะสมัยนิยม

เมื่อปั้นหุ่นหรือพิมพ์ได้รูปแล้วก็มาถึงขั้นตอน การเข้าขี้ผึ้ง นับเป็นงานฝีมืออีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก (ขี้ผึ้งทำมาจากรังผึ้งที่ต้มเคี่ยวจนนิ่มติดมือ แล้วนำไปผสมกับยางชันกรองด้วยผ้าขาวบางจนได้เนื้อขี้ผึ้งละเอียด) แช่พิมพ์ในน้ำสักพัก จากนั้นทาดินเหนียวบางๆ ทั้งสองด้านของพิมพ์เพื่อเคลือบให้ผิวดินและทรายเป็นเนื้อเดียวกัน กรอกขี้ผึ้งลงไปในพิมพ์ให้เต็มแล้วเทออกใส่อ่างน้ำ ในกระบวนการนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนจากขี้ผึ้งหลอมละลายมีอานุภาพทำให้มือและนิ้วแดงพองได้ ปั้นขี้ผึ้งที่เทลงอ่างเป็นแท่งกลมยัดลงพิมพ์ให้แน่นที่สุด ใช้มีดเฉือนขี้ผึ้งส่วนเกินออก แช่พิมพ์ลงในน้ำสักพักก็สามารถแกะแบบพระพิมพ์ขี้ผึ้งออกมาได้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ จะใช้วิธีตีลาย คือนำขี้ผึ้งวางบนลายพิมพ์แล้วใช้ไม้รวกบดขี้ผึ้งจนเป็นลายตัดออกมาประกอบกับองค์พระ

ก่อนนำไปหล่อต้องทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งเสียก่อน เพื่อให้เนื้อของแบบพิมพ์เรียบสนิท ที่สำคัญคือช่วยรักษาความชัดเจนของรูปร่างและลวดลายขององค์พระไว้อย่างดีด้วย (ส่วนผสมที่เรียกว่ามูลวัว คือ การนำมูลวัวสดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาผสมกับดินนวล) ทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งซ้ำไปซ้ำมา 3 ชั้น ตอกทอยเข้าไปในหุ่นเพื่อรับน้ำหนักให้สมดุลกัน (ทอยส่วนใหญ่มักทำด้วยเหล็ก) หุ่นที่ทามูลวัวเมื่อแห้งดีแล้วนำมาพอกด้วยดินเหนียวผสมทรายให้ทั่วอีกรอบ ก่อนนำออกผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้งสนิท

กรรมวิธีต่อไป คือ การเข้าลวด ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเพราะลวดที่พันรอบหุ่นคือเกราะป้องกันการแตกตัวของดินเมื่อได้รับความร้อน หุ่นพระจะเสียหายและอาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่หากดินแตก เมื่อผูกเหล็กเรียบร้อยแล้ว นำดินเหนียวพอกทับแม่พิมพ์อีกครั้งให้มิดลวด ขั้นตอนนี้เรียกว่า ทับปลอก จากนั้นจึงปั้นปากจอกหรือชนวนปิดบริเวณปากทางที่จะเททอง

2. ขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูป
ภาษาช่างเรียกขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูปว่า "การเททอง" หมายถึง การสุมทองหรือหลอมโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ให้ละลายเป็นของเหลวแล้วเทโลหะหรือทองนั้นลงในแม่พิมพ์ การหลอมโลหะนับเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน โดยเฉพาะทองแดงต้องใช้เวลาหลอมละลายไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง การหล่อพระนิยมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเผาหุ่นและใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหลอมโลหะ ก่อนเททองต้องทำการสุมไฟหุ่นให้ร้อนจัดพื่อสำรอกขี้ผึ้งที่ปั้นเป็นหุ่นอยู่ภายในหลอมละลายไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวนจนหมด และเผาแม่พิมพ์ต่อไปจนสุกพร้อมที่จะเททองหล่อพระได้

การหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ต้องทำนั่งร้านสำหรับเททอง พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสูงมากๆ จะใช้วิธีหล่อเป็นสองท่อนแล้วนำมาประกบกัน เมื่อเผาแม่พิมพ์ได้ที่ขณะเดียวกับทองที่หลอมในเบ้าละลายดีแล้ว ก็เตรียมยกเบ้าทองไปเทลงในแม่พิมพ์ได้เลย การเททองต้องเทติดต่อกันมิฉะนั้นจะไม่ต่อเป็นเนื้อเดียว

ภายหลังการเททองเสร็จแล้วต้องปล่อยให้ทองในแม่พิมพ์เย็นตัวจึงจะจัดการทุบแม่พิมพ์ดินออกได้ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด ถอนหรือตัดทอยออกแล้วใช้ตะไบหยาบขัดให้ทั่วทุกมุม พระพุทธรูปสำเร็จก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด

3. ขั้นตอนการขัดแต่งพระพุทธรูป
พระพุทธรูปเมื่อทุบแม่พิมพ์ออกแล้วผิวพื้นขององค์พระจะไม่เรียบ มีคราบเผาไหม้ปรากฏอยู่โดยทั่ว ดังนั้น เมื่อทำการหล่อแล้วจึงต้องมีการขัดแต่งผิวให้มันเงา ขั้นตอนการขัดมันในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องขัดกดจี้กับองค์พระจนผิวเรียบเกลี้ยง จากนั้นเปลี่ยนผ้าขัดเงาให้เป็นผ้าที่มีความนิ่มปุยขัดต่อโดยใช้ยาขัดเงาสีแดงเป็นตัวเพิ่มความแวววาว จากนั้นจึงลงรักปิดทองด้วยการนำองค์พระล้างน้ำให้สะอาดก่อนลงรัก ใช้น้ำรักผสมสมุกบดให้เข้ากันจนข้นแข็งไม่ติดมือ นำน้ำรักมาเกลี่ยให้ทั่วองค์พระปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วัน


เมื่อรักแห้งสนิทขัดอีกครั้งด้วยกระดาษทรายลบสันคมและรอยคลื่นออกให้เกลี้ยงเกลา ล้างน้ำให้สะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อองค์พระแห้งแล้วใช้แปรงจุ่มลงทาให้ทั่ว ผึ่งลมรอจนแห้งแล้วใช้น้ำรักทาทับอีกครั้ง คลุมองค์พระด้วยผ้าชุบน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปิดออกดู เมื่อน้ำรักไม่ติดมือก็ถือว่าใช้ได้ ปิดทองแล้วเกลี่ยให้ทั่วตลอดองค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็มาถึงพิธีการเบิกพระเนตร สำหรับตาดำนิยมใช้นิลดำทำเป็นรูปทรงไข่ ตาขาวใช้เปลือกหอยมุกไฟ ปอกเปลือกนอกออก แต่งด้วยตะไบแล้วนำไปติดโดยใช้น้ำรักผสมสมุก (ใบตองแห้งเผาแล้วนำมาร่อนจนละเอียด) ตาหนึ่งข้างจะติดที่หัวตา 1 อัน และหางตาอีก 1 อัน ขณะใส่ตานิลต้องท่องคาถาคำว่า "ทิพจักขุ จักขุ ปะถัง อาคุจฉาติ" เป็นอันเสร็จพิธีการปั้นและหล่อพระพุทธรูป

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

North Thailand Trip 2009 :part4

Golgen Triangle
chiang rai



บริเวณ จุดถ่ายภาพ ชมวิว
และ นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน

สามเหลี่ยมทองคำ
เป็นจุดบรรจบกันของ 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว พม่า ระหว่างลาว-พม่า มีแม่น้ำโขงกั้น ระหว่างไทย-พม่า มีแม่น้ำรวกกั้น จุดบรรจบกันของทั้งสามประเทศมีตะกอนทรายทับถามอยูกลางน้ำ จุดนี้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม วิวฝั่งลาวมีแต่ป่าไม่มีชุมชน ฝั่งพม่ามีอาคารหลังใหญ่ซึ่งเป็นบ่อนคาสิโนที่นักลงทุนไทยไปทำไว้เพื่อความสร้างความเพลิดเพลินให้นักท่องเที่ยว ฝั่งลาวถัดไปทางด้านท้ายน้ำมีเกาะของลาวเกาะหนึ่งชื่อว่าเกาะดอนซาว นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเที่ยวได้  นับแต่ปี 2548สามเหลี่ยมทองคำมีจุดท่องเที่ยวเพิ่มจากเดิมคือมีการสร้างพระพูทธรูปองค์ใหญ่อยู่บนเรือนาวา และสร้างตุงทองขนาดใหญ่ และสร้างอีกหลายเชือก และมีอนุเสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายด้วย นอกจากจุดนี้จะเป็นจุดชมวิวแล้วที่นี่ยังมีเรือหางยาวให้บริการพานักท่องเที่ยวนั่งเรือชมวิวสามประเทศ โดยเรือจะพาอ้อมเลาะฝั่งพม่า ขากลับเลาะริมฝั่งลาว แล้วพาวนไปชมวิวแถวเกาะดอนซาวของลาว สนใจติดต่อเรือให้บริการได้ที่ท่าเรือริมแม่น้ำโขง

คาสิโนฝั่งตรงข้าม

  

พระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์   ตั้งอยู่บนยอดดอยคำ ที่วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นเจดีย์สีขาวตั้งเด่นอยู่บนภูเขาลูกเตี้ยๆ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองเชียงแสน เจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระธาตุองค์ใหม่ที่สร้างคล่อมพระธาตุองค์เดิม พระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์ที่สร้างใหม่มีขนาดใหญ่ภายในเป็นห้องโถง กึ่งกลางเจดีย์เป็นฐานของพระธาตุเก่าที่พุพัง บริเวณผาผนังเป็นภาพเขียนบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน บนเจดีย์นี้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงามมาก 
ข้อมูลจาก : http://www.tourdoi.com/
PHOTO : Su_ku



North Thailand Trip 2009 :part3

Sang Kaw Pho Thi Yan Temple
Chiang rai

ข้อมูล:  วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย 
ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ” แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว  เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549  ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง 

อ่านบทความทั้งหมดได้ที่  เวบไซต์ของวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ
LINK   http://www.watsangkaewphothiyan.com/




ต้นกฐินแบงค์ 20 เยอะมากสูงท่วมหลังคาโบสถ์
เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก จากการคาดเดาด้วยสายตา
คงเป็นจำนวนเงินที่เยอะมาก ลองนั่งนับดูจากภาพ ตาลายเลยล่ะคะ


ประวัติความเป็นมาของวัด ( คัดลอกจาก http://www.watsangkaewphothiyan.com/ )

1.สถานที่ตั้ง

วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง

2.เริ่มก่อสร้าง
วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยม จึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างวัด กับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง โดยใช้เวลานานหลายวันก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ในการก่อสร้างวัด แต่แล้วด้วยบุญญาบารมี ของท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวบ้านที่จะสร้างวัด คืนหนึ่งขณะที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จำวัดอยู่ได้นิมิตรว่ามีที่ดินเป็นเนินไม่สูงมากนัก มีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยไม้ไผ่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต พึงพอใจในสถานที่แห่ง นี้เป็นยิ่งนัก จึงได้เล่านิมิตที่ท่านพบมาให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านฟัง คณะพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านได้พาท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน จนมาถึงท้ายของหมู่บ้าน พบสวนของชาวบ้าน ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้สำรวจพื้นที่ โดยรอบสวนพบว่ามีลักษณะเป็นสวนและมีต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับสถานที่ที่ท่านได้นิมิตรพบในคืนที่ผ่านมา ท่านครูบาเดินออกสำรวจพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว แล้วบอกกับคณะที่ติดตามท่านไป ในการสำรวจครั้งนั้นว่า ท่านพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นยิ่งนัก เหมาะสำหรับการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นศาสนสถานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และสถานที่แห่งนี้เป็นของใคร พ่อหลวงยา ศรีทาจึงได้บอกว่าเป็นสวนของผู้ที่มีฐานะดี คงจะไม่ยอมขายให้และถ้าหากขายก็คงจะต้องราคาแพง ความเป็นไปได้ที่จะได้ที่ดินเพื่อมาสร้างวัดคงจะไม่มีท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้เดินไปจนถึงยอดเนินของสถานที่แห่งนั้น และได้จุดธูปเทียน พร้อมทั้งกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมังคละคู่ยารมีท่านในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปแล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา” เมื่อท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตตั้งจิตอธิษฐานเสร็จแล้ว พ่อหลวงยา ศรีทา ได้เชิญเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีมาพบกับท่านครูบาเพื่อพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการสร้างวัดบนของที่ดินผืนนี้ เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินประมาณ 19 ไร่เศษให้กับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตเพื่อสร้างวัดอย่างง่ายดาย สร้างความประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะผู้ติดตามท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นอย่างมากหลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ร่วมกับคณะศรัทธาปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ทราบข่าวการสร้างวัด ได้แสดงความจำนงค์ในการร่วมสมทบทุน สร้างวัดเป็นจำนวนมาก

3.การออกแบบก่อสร้างและการวางแผนในการก่อสร้างวัด
จากการที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และเป็นผู้ที่ศึกษามามากทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ที่ช่างสังเกตและจดจำ รวมถึงประสบการณ์ในการไปธุดงค์พบเห็นวัดต่าง ๆ ที่มีศิลปะในการสร้างที่แตกต่างกันไป ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้วางแผนผังบริเวณวัดซึ่งเป็นไปตามหลักของทางธรรมและศาสน์ของ สถาปัตยกรรมล้านนา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนลักษณะเป็นขั้นบันได 3 ขั้น โดยแต่ละขั้นมีความหมาย ดังนี้
ชั้นที่ 1 “ชั้นพุทธาวาส”
ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน ที่จอดรถและสถานที่สาธารณะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด


ชั้นที่ 2 “ชั้นพุทธาวาส”
ใช้เป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธีต่างๆ เป็นชั้นสำหรับการใช้ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส


ชั้นที่ 3 “ชั้นปรินิพพาน”
เป็นชั้นสูงสุดของวัดแห่งนี้โดย เป็นชั้นสังฆกรรม ชั้นพระสงฆ์ทำพิธีกรรม เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุแห่งวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ


การปรับปรุงพื้นที่ได้มีผู้มีจิตศรัทธา และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมทุนกันทั้งทุนทรัพย์ กำลัง เครื่องมือ เครื่องจักรเป็นจำนวนมาก และได้เร่งปรับพื้นที่ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนจนแล้วเสร็จภายคืนเดียว สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับชาวบ้านและคณะผู้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นอย่างมากที่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการก่อสร้างวัด เสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้ทำการสร้างอาคารพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น ระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบน้ำบาดาล ถังพักน้ำ โดยผู้มีจิตศรัทธา ที่หลั่งไหลมาแสดงความจำนงค์ในการเป็นเจ้าภาพ ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นจำนวนมาก

4.ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ”
แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยก่อนที่จะได้ชื่อ แสงแก้วโพธิญาณ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ร่วมกับคณะศรัทธาที่ร่วมกันสร้างวัด ในการตั้งชื่อเพื่อขออนุญาติสร้างวัด แต่เนื่องด้วยเหตุใดก็หามีผู้ใดรู้ไม่ ท่านครูบาและคณะศรัทธา ไม่สามารถสรุปชื่อของวัดได้ สร้างความหนักใจให้กับท่านครูบาและคณะศรัทธาเป็นยิ่งนักยิ่งใกล้วันวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างพระวิหารเข้ามาทุกที จนกระทั่งก่อนวันวางศิลาฤกษ์ 2 วัน ด้วยความทุ่มเทในการจัดเตรียมงานวางศิลาฤกษ์ และมีคณะญาติโยมที่พากันมากราบนมัสการ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต อย่างไม่ขาดสายทำให้ท่านครูบา รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเพลียท่านจึงได้จำวัด พอตกยามเช้าใกล้รุ่งท่านได้นิมิตฝันไปว่า คืนนี้ฝนตกหนักท่านได้เดินจากยอดดอยแห่งหนึ่งลงไปยังหมู่บ้านด้านล่างได้ได้พบกับลูกศิษย์เดินสวนมา และเอ่ยถามท่านว่า “ท่านจะไปไหน” ท่านก็ได้ตอบศิษย์ของท่านไปว่า “จะลงไปหมู่บ้านข้างล่าง” ลูกศิษย์ท่านก็บอกว่า “ไม่ต้องลงไปหรอกครับท่าน หมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมหมดแล้ว” ท่านก็บอกต่อไปว่า ไม่เป็นไรหรอก เราจะลงไป แล้วท่านก็บอกให้ลูกศิษย์ของท่าน เดินขึ้นไปก่อน จากนั้นท่านก็เดินลงจากดอยลูกนั้นมาเรื่อย ๆ จนพบกับแสงสว่างคล้าย ๆ กับแสงแก้ว ลอยไปลอยมาหลายดวง ท่านจึงมุ่งตรงไปยังกลุ่มของแสงเหล่านั้น พบว่าเป็นดวงไฟที่ชาวบ้านถือส่องทางเพื่อหนีน้ำท่วมขึ้นมาบนดอย ชาวบ้านเหล่านั้นได้ชวนท่านกลับขึ้นไปมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมแล้ว ท่านก็บอกให้ชาวบ้านเดินขึ้นไปก่อนเดี๋ยวท่านจะตามขึ้นไป จากนั้นสักพักท่านก็เดินกลับขึ้นดอยดิน กลับขึ้นดอย ท่านได้เดินเอาเท้าข้างหนึ่งเหยียบลงไปในหลุมโคลนบกับน้ำที่ไหลลงมาจากยอดดอยขังอยู่บริเวณนั้นพอดีทำให้พื้นดินอ่อนจนเท้าของท่านเหยียบลงไปจนหมด และท่านก็ได้มองลงไปในหลุมนั้น พบสิ่งประหลาดสิ่งหนึ่ง ยุบแลพองตัวอยู่ในหลุมนั้น ท่านจึงใช้ไม้เท้าของท่านเขี่ยดู แล้วหยิบสิ่งนั้นขึ้นมามีลักษณะคล้ายลูกแก้ว แล้วลูกแก้วลูกนั้นก็มีแสงสว่างเรืองรอง และนวลตายิ่งนัก ท่านก็มิได้สนใจมากนั้น จึงโยนสิ่งนั้นไปทางด้านหลังแล้วเดินขึ้นดอยต่อไป พอท่านหันหลังกลับมาพบว่าสิ่งที่ท่านโยนทิ้งไปเมื่อสักครู่กลับกลายเป็นดอกบัว ที่ผุดขึ้นมามากมายแล้วเรืองแสงไปทั่วบริเวณนั้น สร้างความประหลาดใจให้ท่านยิ่ง รุ่งเช้าท่านได้นำนิมิตที่ท่านพบในคืนที่ผ่านมาเล่าให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและกลุ่มคณะศรัทธาฟังชาวบ้านบอกว่าคงเป็นนิมิตที่เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบอกเป็นเหตุให้ ท่านจึงได้คิดชื่อได้ จากเหตุที่เป็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้วแล้วกลายเป็นดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ คือ หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วเปล่งแสงคล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” หลังจากนั้นก็ได้ทำการดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา เมื่อเสนอเรื่องขึ้นไป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกได้ทรงพระราชทานนามใหม่เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ”


แผนที่การเดินทาง

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

North Thailand Trip 2009 :part2

 
เที่ยววัดบ้านเด่น  ข้อมูล :วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน
 เดิมชื่อวัด “หรีบุญเรือง” เป็นวัดสวยที่สร้างขึ้นด้วยศิลปล้านนาประยุกต์ ตั้งเด่นบนเนินเตี้ยๆเห็นได้แต่ไกล ภายใต้เนินนั้นเป็นถ้ำศักสิทธิ์ ที่ชาวบ้านนับถือจึงเรียกกันว่า "วัดบ้านเด่น" เป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามตระการตาด้วยศิลปสถาปัตยกรรมไทยล้านนา ภายใต้แนวคิดที่ว่าให้เป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจมากกว่าการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงเป็นธรรมกุศสโลบาย ในการสร้างวัดให้งดงาม เพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้าวัด ชมความสวยงามที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม เป็นการชักนำชาวโลกยุคนี้ให้ใกล้ชิดศาสนา และซึมซับในคำสอนขององค์พุทธศาสดา พร้อมๆไปกับการเที่ยวชมพุทธสถานแห่งนี้ และยังเป็นสถานที่นมัสการพระธาตุประจำปีเกิดทั้ง 12 ราศี


ภายใน วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน มี อุโบสถ หอไตร หอกลอง วิหารเสาอินทขิล กุฏิไม้สักทองทรงล้านนา พระวิหาร พระสถูปเจดีย์ โดยครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล (พระครูไพศาลพัฒนโกวิท) วัดหัวคง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับนิมนต์จาก ครูบาไชยา วัดป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานในการก่อสร้างศาสนสถานและศาสนสมบัติทั้งหมด ภายในวัดตลอดจนถึงปัจจุบัน ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา น่ากราบไหว้ แม้ท่านจะมีอายุไม่มากนัก แต่ก็ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากผู้คนทั่วไปร่วมถวายปัจจัยสมทบทุนสร้างศาสนสถานที่สวยงาม และยิ่งใหญ่ เป็นที่รู้จักของผู้คนจากทุกสารทิศในเวลาไม่นาน

การเดินทาง
วัดบ้านเด่นอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 30 กิโลเมตร ไปทางเดียวกับเขื่อนแม่งัด อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวเชียงใหม่-สะเมิง หรือเชียงใหม่-ฝาง แยกเข้าไปทางเขื่อนแม่งัดอีกประมาณ 3 กิโลฯ เลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 1 กิโลฯ จะเห็นวัดสวยเด่นทางซ้ายมือแต่ไกลทีเดียว


 
ป้ายชื่อวัดบ้านเด่น


รอบบริเวณวัดด้านหน้า

 ( ทุกภาพสามารภ Click ที่ภาพ เพื่อดูภาพใหญ่ )


 บริเวณวัด ที่มีตัวโบสถ์ และศาลา
มองไปด้านล่าง หน้าวัด วิวสวยมากเลยค่ะ

บริเวณวัด ประกอบไปด้วย พระอุโบสถ และศาลา หลายหลัง
ซึ่งแต่ละหลัง ก็มีการออกแบบ ที่แตกต่างกันไป ซึ่งความสวยงามไม่แพ้กันเลยทีเดียว



มองทะลุมาจากตัวโบสถ์ไปยังศาลาด้านข้าง

            





แผนที่ไป วัดบ้านเด่น




North Thailand Trip 2009 :part1


สวัสดี เจ้า
วันนี้จะพาเที่ยวเหนือ ในแบบฉบับของสุขุ คือ เน้นรูปเพราะเราเป็นคนชอบถ่ายรูป เวลาไปไหนก็จะไม่ค่อยมีรูปตัวเอง ในช่วงเริ่มฤดูหนาว แถมฝนให้นิดหน่อย ความจริงแล้วทริปนี้ เราจะไปทอดกฐินกัน ที่วัดถ้ำเมืองนะ หอบเอาซองพร้อมหัวใจที่เปี่ยมปุญ ไปพร้อมกับเพื่อนอีก4ชีวิต มุ่งหน้าสู่เชียงราย

ออกเดินทางจากกรุงเทพ มุ่งหน้าสู่เชียงราย ตามเส้นทางสายเหนือ กว่าจะไปถึงก็ดึกมาก เพราะกว่าเราจะรวมตัวได้ ก็สายแล้ว เดินทางถึงด่านตรวจ บริเวณทางเข้าขุนน้ำนางนอน เลี้ยวเข้าไปอีกไม่ไกล ก็ถึงที่พักของเรา นั่นก็คือ บ้านเพื่อน มีลานกางเต้นท์ ได้บรรยากาศจริงๆคืนแรก เราไปนอนเต้นท์กัน ที่ลานหน้าสนาม BB Gun แวดล้อมด้วย สวนลำไย ขุนเขา บรรยากาศดีสุดๆ อีก5 กิโลเมตรก็คือ ตลาดแม่สายแล้วล่ะ พรุ่งนี้ ค่อยไป shopping


(((( ทุกภาพ Click ที่ภาพ เพื่อดูภาพใหญ่  ))))
All photo copy right photo by: su_ku


ชายแดน แม่สาย
อยากนำภาพนี้มาให้ได้ชมกัน ทั้งน่ารัก และน่าสงสาร น้องหลับเหมือนตุ๊กตาเลย

ปล่อยโคมลอยเพื่อความโชคดี


คืนที่สอง ลองสนาม  BB Gun ซะหน่อย

ช่วงเช้า มีอาหารเช้า คือข้าวต้ม อร่อยด้วยนะเนี่ย
อยากลองเล่นบ้างแต่ไม่มีชุด ก็เลยกลัวจะเจ็บ ขอถ่ายรูปแล้วกัน


บรรยากาศแถวๆเต้นท์ริมดอย ยามเช้า


ออกเดินทางสู่วัดร่องขุ่น อันนี้พลาดไม่ได้ มาเป็นครั้งที่สองแล้ว
ครั้งแรกคนไม่เยอะเท่าไร วันนี้คนเยอะทีเดียวไม่ค่อยได้ภาพเหมือนครั้งแรก
ตอนนี้ ปูนเริ่มมีสีแห่งความเก่า ดูขลังดี

ขนาดปลาว่ายน้ำ ยังดู มีพลัง..มันมีพลัง!!
ปลาตัวสีเงิน ที่บ่อ หน้าบันไดด้านหน้าโบสถ์สะท้อนแดด สวยดี อยากเลี้ยงบ้าง

แวะถ่ายภาพวิวกันก่อนขึ้นดอย

ดอยตุง วันนี้เข้าฟรี เพราะมีการจัดงานพอดี
ถ่ายกับ กลุ่มชาวเขาที่มาแสดงเต้นรำพื้นเมือง


ร้านกาแฟดอยตุง นั่งพักหน่อย

แดดใกล้หมดแล้ว ขนาดเราไปช่วงบ่าย แดดยังร้อนมาก


มาดอยตุงปีที่แล้วดอกไม้สวยมาก แต่ตอนนี้ คงกำลังเตรียมดอกไม้ เพื่อจัดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในช่วงปีใหม่ เลยไม่ค่อยมีมุมสวยๆให้ถ่ายรูปเท่าไร ถาพวัดร่องขุ่น และดอยตุงขอลงให้ดูเต็มๆ อีกบทความหนึ่งนะจ๊ะ